ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
เกือบทุกคนไม่ว่าจะเป็นวัยเด็กหรือผู้ใหญ่นั้น ย่อมต้องเคยเผชิญกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งมักเกิดจากการทำงานหรือแม้แต่การออกกำลังกาย อาการเหล่านี้สามารถหายได้เองด้วยการพักผ่อนหรือใช้ยา แต่หากมีอาการปวดอย่างต่อเนื่องและปวดรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังในที่สุด ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังคืออะไร โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังหรือ Myofascial Pain Syndrome (MPS) เป็นโรคปวดกล้ามเนื้อชนิดอาการปวดแบบเรื้อรัง โดยเกิดขึ้นที่บริเวณศูนย์รวมความปวดของกล้ามเนื้อที่เรียกกันว่า “จุดกดเจ็บ” ซึ่งซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อพังผืด แต่จะกระจายอาการปวดไปตามกล้ามเนื้อส่วนนั้น จากนั้นอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจะแย่ลงจนเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ อย่างเช่นโรคไมเกรน โรคปวดศีรษะเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับ และภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังเกิดจากอะไร เมื่อเรานั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ยกของหนักในท่าเดิมซ้ำ ๆ เป็นประจำ หรือออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ ทุกวัน จะส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งสะสมจนกลายเป็นก้อนเนื้ออักเสบ โดยส่วนนี้เองที่เป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนี้ขาดออกซิเจนกับเลือดเข้าไปเลี้ยงจนทำให้มีอาการอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังมีอาการอย่างไร ในระยะแรก ๆ ของโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง จะรู้สึกปวดเมื่อยล้าแบบพอรำคาญจนกระทั่งปวดทรมานไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณนั้นได้ มีอาการปวดร้าวลึก ๆ ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งอาจจะปวดตลอดเวลาหรือเฉพาะเวลาที่ใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้น นอกจากนี้บางรายอาจมีอาการนอนไม่หลับ ปวดศีรษะเรื้อรัง หรือมีอาการชาที่มือและขาร่วมด้วย สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย ตัวอย่างเช่นระดับไหล่สองข้างไม่เท่ากัน […]